การบำรุงลำไย
การบำรุง
ทางเลือกใหม่สำหรับธาตุอาหารในรูปปุ๋ยทางดิน
ผลิตภัณฑ์แนะนำ
ท็อป-เอ็น (TOP N)
นวัตกรรมใหม่ สำหรับการบำรุงพืช ช่วยปรับปรุงดิน

ประโยชน์
-
- ช่วยปรับปรุงดิน
- สารช่วยเสริมสร้างราก
- สารช่วยเร่งขยายขนาดของผล
- สำหรับให้ลำใยทางดิน
- นวัตกรรมใหม่ สำหรับการบำรุงพืช ช่วยปรับปรุงดิน กระตุ้นการเจริญเติบโตของราก กระตุ้นการแตกใบอ่อน ใบเขียวเข้ม เพิ่มปริมาณและคุณภาพผลผลิตให้กับพืช
- สารอินทรีย์ชนิดเม็ดสำหรับใช้กับพืชทางดิน ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปนำเข้ามาจาก บริษัท Cifo Srl ประเทศอิตาลี
- เป็นสารอินทรีย์ชนิดเม็ดภายใต้นวัตกรรมใหม่สำหรับใช้เป็นสารกระตุ้นทางชีวภาพ ซึ่งประกอบด้วย สารไฮโดรไลซ์ จีเลติน (Hydrolyzed Gelatin) สำหรับนำไปใช้เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับพืช ด้วยกระบวนการผลิต FCH (Fully Controlled Hydrolysis) เป็นกระบวนการไฮโดรไลซิสผ่านความร้อนโดยสมบูรณ์ มีการย่อยสลาย Collagen ควบคุมเวลา ความดัน ปริมาณน้ำ ความชื้น อุณหภูมิ ไม่ให้สูงมาก และทำให้สะอาด มีการอบฆ่าเชื้อ ปราศจากเชื้อโรค จนได้ Hydrolyzed Gelatin ในรูปเม็ด
- FCH® นวัตกรรมใหม่ เทคโนโลยีเฉพาะของ Cifo Srl
- ท็อปเอ็น ได้รับสัญลักษณ์ Selected Products Enviromentally Friendly สัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ใช้ได้กับพืชเกษตรอินทรีย์ พืชปลูกโดยทั่วไป
การใช้ชุดผลิตภัณฑ์สารอาหารและฮอร์โมนพืชสำหรับลำไยกระตุ้น
การแตกใบอ่อน

ภายหลังตัดแต่งกิ่งประมาณ 3 สัปดาห์ ก็จะเริ่มแตกใบใหม่
ลำไยมีความจำเป็นจะต้องใช้ใบรุ่นใหม่ประมาณ 2-3 ชุดสำหรับเสริมสร้างอาหารเพื่อความสมบูรณ์พร้อม และช่วยฟื้นฟูสภาพต้นที่ทรุดโทรมให้กลับคืนสู่ความสมบูรณ์ได้อย่างรวดเร็ว
ผลิตภัณฑ์แนะนำ
ปุ๋ยเกร็ดไซโฟเฟอร์ท 30-12-8

อัตราและวิธีใช้
อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
อัลก้า

อัตราและวิธีใช้
อัตรา 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
จิบเบอร์โซล

อัตราและวิธีใช้
อัตรา 2 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
เร่งให้ใบอ่อนแก่เร็ว

เพื่อให้การสร้างใบรุ่นใหม่มีความสมบูลย์พร้อมเร็วกว่าปกติ
ผลิตภัณฑ์แนะนำ
ซีเนอกอน 2000

อัตราและวิธีใช้
อัตรา 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
แมกนีเซียมพาสส์

อัตราและวิธีใช้
อัตรา 10 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร

คูวาส

อัตราและวิธีใช้
อัตรา 5 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
สะสมอาหารก่อนการออกดอก

เพื่อให้มีสารอาหารที่เพียงพอต่อการออกดอก
ผลิตภัณฑ์แนะนำ
ปุ๋ยเกล็ดไซโฟเฟอร์ท 10-50-15

อัตราและวิธีใช้
อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
ซีเนอกอน 2000

อัตราและวิธีใช้
อัตรา 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
ซิ้งค์พาสส์

อัตราและวิธีใช้
อัตรา 10 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
การบังคับการออกดอกของลำไย

ด้วยการราดสารโพแทสเซี่ยมคลอเรตที่มีความเข้มข้นของเนื้อสารไม่ต่ำกว่า 95%
ก่อนราดสารประมาณ 1 เดือน ควรใส่ปุ๋ยทางดินสูตร 8-24-24 หรือ 9-24-24
ช่วงราดสารใบควรจะมีสีเขียวเข้ม ใบเริ่มแก่ (แต่ไม่แก่จัด)
ก่อนราดสารดินจะต้องไม่ชื้นหรือแห้งเกินไป
- สำหรับลำไย ปลูกใหม่ เมื่อต้นมีอายุประมาณ 2-2.5 ปี สามารถบังคับให้ลำไยออกดอกได้ โดยการราด โพแทสเซียมคลอเรต อัตรา 10-20 กรัมต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร หรือใช้สารประมาณ 30-50 กรัมต่อต้นจนกระทั่งประมาณ 3-4 สัปดาห์ ลำไยจะเริ่มแทงช่อดอก
- สำหรับลำไยที่ให้ผลผลิตแล้ว การราดสารโพแทสเซียมคลอเรตขึ้นอยู่กับอายุของลำไย ขนาดของทรงพุ่มและชนิดของเนื้อดิน
ในกรณีที่เป็นดินร่วนปนทราย ให้ใช้ตามอัตรา ดังนี้
- ลำไย อายุ 5-7 ปี ควรใช้สารโพแทสเซียมคลอเรต ในอัตรา 100 กรัมต่อต้น
- ลำไย อายุ 7-10 ปี ควรใช้สารโพแทสเซียมคลอเรต ในอัตรา 150 กรัมต่อต้น
- ลำไย อายุ 10 ปีขึ้นไป ควรใช้สารโพแทสเซียมคลอเรต ในอัตรา 200 กรัมต่อต้น
ในกรณีที่เป็นดินร่วนปนเหนียว ให้เพิ่มอัตราอีก 50 กรัมต่อต้น
ภายหลังราดสารแล้วควรรดน้ำให้ชุ่ม จนกระทั่งลำไยออกดอก ซึ่งปกติแล้วภายหลังราดสารประมาณ 20-35 วันก็จะแทงช่อดอก
สำหรับลำไยที่ราดสารโพแทสเซี่ยมคลอเรต

ควรบำรุงใบลำไยเพื่อการสะสมอาหารอย่างสมบูรณ์
ผลิตภัณฑ์แนะนำ
ซีเนอกอน 2000

อัตราและวิธีใช้
อัตรา 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
ซิงค์พาสส์

อัตราและวิธีใช้
อัตรา 10 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
เปิดตาดอกลำไย
ต้องพิจารณาถึงความพร้อมต่อการออกดอกด้วยสภาพที่เหมาะสมที่ควรสังเกตคือ
- เมื่อใบแก่มีความพร้อมต่อการออกดอก
- สภาพของดินจะต้องมีการระบายน้ำได้ดีหรือจะต้องมีร่องน้ำสำหรับการะบายน้ำออกไม่ควรมีน้ำท่วมขัง
- ปริมาณน้ำฝนจะต้องลดลงหรือจะต้องมีช่วงฝนทิ้งช่วงประมาณ 1 เดือนและก่อนเปิดตาดอกจะต้องปลอดฝนอย่างน้อย 5-7 วัน
- ควรมีอุณหภูมิก่อนออกดอกประมาณ 15 องศาเซลเซียส นาน 1-2 เดือน
- หากราดสารโพแทสเซียมคลอเรตให้สังเกตภายหลังจากราดสารแล้ว 3-4 สัปดาห์ และมีช่วงกระทบแล้งอย่างน้อย 5-7 วันก็เหมาะสมสำหรับการดึงตาดอก
ผลิตภัณฑ์แนะนำ
ปุ๋ยเกร็ดไซโฟเฟอร์ท 7-13-34+6.3Zn

อัตราและวิธีใช้
อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

เซ็ท 46

อัตราและวิธีใช้
อัตรา 10 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
อัลก้า

อัตราและวิธีใช้
อัตรา 30 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
ช่วยผสมเกสรในระยะก่อนดอกบาน

ในระยะนี้จำเป็นจะต้องช่วยสร้างสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการผสมเกสร ถ้าหากมีน้ำมากควรลดปริมาณการให้น้ำลง ควรพ่นสารช่วยในการผสมเกสร
ผลิตภัณฑ์แนะนำ
เอิร์ท 23

อัตราและวิธีใช้
อัตรา 5 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
พ่น 2 ครั้งเมื่อดอกเริ่มบานห่างกัน 5-7 วัน
เพิ่มการติดผลภายหลังกลีบดอกโรย

ภายหลังผสมเกสรอย่างสมบูรณ์แล้ว เริ่มติดผลอ่อน
ผลิตภัณฑ์แนะนำ
ไซฟามิน บีเค

อัตราและวิธีใช้
อัตรา 5 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
พ่น 2 ครั้งห่างกัน 5-7 วัน
หากมีใบอ่อนแตกแซมจำนวนมากในช่วงนี้ เพื่อลดการแตกใบอ่อนและลดปริมาณใบอ่อนลง
ผลิตภัณฑ์แนะนำ
ปุ๋ยเกร็ดเอราวัณเฟอร์ท 0-52-34

อัตราและวิธีใช้
ในอัตรา 150 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
พ่นไปบริเวณที่มีใบอ่อนแตกแซม
การบำรุงผลอ่อนลำไย

เพื่อให้มีพัฒนาการของผลอย่างสมบูรณ์
ผลิตภัณฑ์แนะนำ
ปุ๋ยเกล็ดไซโฟเฟอร์ท 20-20-20

อัตราและวิธีใช้
อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
แคลซิซาน

อัตราและวิธีใช้
อัตรา 10 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
อีลีมิน

อัตราและวิธีใช้
อัตรา 5 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
การบำรุงในช่วงพัฒนาการของผล
เพื่อให้มีพัฒนาการของผลอย่างสมบูรณ์
ผลิตภัณฑ์แนะนำ
ปุ๋ยเกล็ดไซโฟเฟอร์ท
10-30-30

อัตราและวิธีใช้
อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
แคลซิซาน

อัตราและวิธีใช้
อัตรา 10 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร

ไซโฟแคล

อัตราและวิธีใช้
อัตรา 10 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
ป้องกันอาการผลแตกของลำไย

มักพบอาการผลแตกจำนวนมากในช่วงพัฒนาการของผลก่อนเก็บเกี่ยว เกิดจากผลลำไยมีเปลือกบางกว่าปกติโดยเฉพาะด้านก้นผล บางครั้งอาจโดนโรค(เช่น โรคแอนแทรคโนส โรคราน้ำฝน)และแมลงศัตรูพืชทำลาย หรือผ่านสภาวะแล้งมาช่วงขณะหนึ่ง เมื่อได้รับน้ำที่ไม่สมดุลหรือมากเกินไปจากปริมาณน้ำฝน ก็อาจดันให้ผลลำไยเปลือกแตกได้ง่าย ดังนั้นควรจัดการให้ในแปลงเพาะปลูกมีการระบายน้ำที่ดีโดยเฉพาะในแปลงปลูกที่เป็นดินเหนียว ควรพูนโคนต้นและให้น้ำอย่างสม่ำเสมอในช่วงพัฒนาการของผลลำไยและไม่ควรตัดหญ้าในช่วงฤดูฝน
การป้องกันควรมีวิธีการจัดการปุ๋ยที่ดีในระยะผลอ่อน ควรมีปริมาณธาตุไนโตรเจนที่สูงกว่าปกติ(โดยเฉพาะในช่วงที่มีอากาศหนาวจัด)เพื่อช่วยในการเสริมสร้างเปลือก แล้วฉีดพ่นทางใบด้วย
ผลิตภัณฑ์แนะนำ
พรีมิโอ

อัตราและวิธีใช้
อัตรา 10 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร

แคลซิซาน

อัตราและวิธีใช้
อัตรา 10 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร

ไซโฟแคล

อัตราและวิธีใช้
อัตรา 10 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
ควรพ่นซ้ำอีกครั้งห่างกัน 15 วัน พ่นในช่วงขยายขนาดของผล
เสริมสร้างคุณภาพเนื้อผล

เพื่อพัฒนาการของเนื้อผลเป็นไปอย่างสมบูรณ์
ผลิตภัณฑ์แนะนำ
ปุ๋ยเกล็ดไซโฟเฟอร์ท 8-5-40+10SO3

อัตราและวิธีใช้
อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
แคลซิซาน

อัตราและวิธีใช้
อัตรา 10 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร

ไซโฟแคล

อัตราและวิธีใช้
อัตรา 10 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
เร่งการสุกของผลเร่งการเข้าสีเนื้อผลและสีผิวผล
เพื่อเร่งการสุกของผลให้สามารถเก็บเกี่ยวได้ก่อนฤดูกาล โดยมีคุณภาพเนื้อที่ดีมีความหวานและสีผิวผลที่เหมาะสม
ผลิตภัณฑ์แนะนำ
ปุ๋ยเกล็ดไซโฟเฟอร์ท 7-13-34+6.3Zn

อัตราและวิธีใช้
อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
เซ็ท 46

อัตราและวิธีใช้
อัตรา 10 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
พ่น 2 ครั้งก่อนเก็บเกี่ยว 30 และ 15 วัน